นวัตกรรมที่ใช้ในการขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนชุมชนบ้านหนองคู (อินทร์-ประชาคาร) โดยใช้ HAPPY  Model  “โรงเรียนแห่งความสุข”

นวัตกรรมที่ใช้พัฒนา

นวัตกรรมที่ใช้ในการขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนชุมชนบ้านหนองคู (อินทร์-ประชาคาร) โดยใช้ HAPPY  Model  “โรงเรียนแห่งความสุข” ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการ  ได้แก่
H  มาจากคำว่า   4H (Head, Heart, Hand, Health) หมายถึง

                   กิจกรรมพัฒนาสมอง (Head) หมายถึง กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิด เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า ตัดสินใจ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

                              กิจกรรมพัฒนาจิตใจ (Heart) หมายถึง กิจกรรมส่งเสริม พัฒนา และปลูกฝังค่านิยม คุณธรรมจริยธรรม การทำประโยชน์เพื่อสังคม เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์จนเป็นลักษณะนิสัย และมีจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและส่วนรวม

กิจกรรมพัฒนาทักษะการปฏิบัติ (Hand) หมายถึง  กิจกรรมสร้างเสริมทักษะการทำงาน ทักษะทางอาชีพที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบความสามารถ ความถนัด และศักยภาพของตนเอง

                             กิจกรรมพัฒนาสุขภาพ (Health) หมายถึง กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะทางกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ และมีทักษะปฏิบัติด้านสุขภาพจนเป็นนิสัย

A มาจากคำว่า  Active Learning  หมายถึง เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดมสมอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการทำกรณีศึกษา เป็นต้น โดยกิจกรรมที่นำมาใช้ควรช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสื่อสาร/นำเสนอ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม บทบาทของผู้เรียนนอกจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและ ผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันด้วย ผู้สอนควรลดบทบาทในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนในลักษณะการบรรยายลง และเพิ่มบทบาท ในการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมใน การเรียนรู้

P มาจากคำว่า  Participation  หมายถึง  การที่กลุ่มบุคคลมีแนวคิดหรือจุดมุ่งหมายที่เหมือนกันเข้ามาดำเนินการนั้น ให้แล้วเสร็จตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดแล้วรับผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งต้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ การมีส่วนร่วม ในผลประโยชน์และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล

P  มาจากคำว่า  (Em)Power หมายถึง  การดําเนินการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ทําให้กลุ่มงานทั้ง 4 กลุ่มงาน เกิดความมั่นใจในตนเองว่ามีความสามารถในการทํางานให้สําเร็จได้ โดยการสร้างแรงจูงใจ การให้ โอกาส การให้อํานาจ และให้สิ่งสนับสนุนต่างๆ จน สามารถขจัดความรู้สึกไร้อํานาจ และมีความรู้สึก มั่นใจในการทํางาน สามารถปฏิบัติงานได้สําเร็จตาม เป้าหมายขององค์กร

Y  มาจากคำว่า  Youth หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนไปในทางที่ดี ที่พึงปรารถนา เป็นผู้ที่เต็มเปี่ยมด้วยความรู้ ความสุข และความหวัง